หลักสูตรมหาเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน

ภาคพิเศษ

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน

Master of Economics Program in Financial Economics

เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 260,000 บาท

สาขาวิชาเอก

1. การวิเคราะห์การลงทุน (Investment Analysis)

2. การวางแผนการเงิน (Financial Planning)

เปิดรับสมัครปีละ 1 รอบ

กรณีสอบสัมภาษณ์ เปิดสอบ 3 รอบ

กรณีสอบข้อเขียน เปิดสอบ 1 รอบ

โดยเปิดรับสมัครประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนเมษายน และเปิดภาคเรียนเดือนมิถุนายน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า โดยสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันอนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา

กรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องมีเอกสาร ดังนี้

- หนังสือรับรองมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยติดต่อที่สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

- หนังสือรับรองการสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาส่งหนังสือรับรองดังกล่าวโดยตรงที่

Educational Service Division

National Institute of Development Administration

118 Serithai Road, Klong Chan,

Bangkapi, Bangkok 10240 Thailand

Fascimile:    (662) 377-7477

หมายเหตุ : สถาบันอนุโลมให้ส่งเอกสารกรณีสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ได้อย่างช้าที่สุดในวันเปิดภาคการศึกษาแรก  มิฉะนั้น  จะถือว่าเอกสารไม่ครบถ้วน และหมดสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบัน

- เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรงอย่างอื่นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยมีใบรับรองจากแพทย์ปริญญาที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์

- เป็นผู้มีความประพฤติดี

- มีประสบการณ์การทำงาน

กรณีสอบสัมภาษณ์ มีประสบการณ์การทำงาน ในสายงานด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี การตลาด พัฒนาธุรกิจ หรือมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน หรือมีประสบการณ์การลงทุน หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า  1 ปี

กรณีสอบข้อเขียน มีประสบการณ์การทำงาน ไม่จำกัดสายงาน  หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

- ผ่านการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีที่สถาบันกำหนด

หมายเหตุ : คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน


** คำเตือนที่ผู้สมัครต้องทราบ **

“ผู้สมัครมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรับรองตนเองว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน ถูกต้องตรงตามประกาศของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และสถาบันฯ สงวนสิทธิที่จะทำการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครโดยไม่คำนึงถึงระยะเวลา หากสถาบันฯ ตรวจสอบภายหลังพบว่า คุณสมบัติของผู้สมัครไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครของสถาบัน สถาบันฯ จะถือว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติในการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาและไม่คืนเงินค่าสมัครให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ กรณีที่สถาบันประกาศผลการคัดเลือกแล้ว ให้ถือว่าผู้การคัดเลือกของผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าวเป็นโมฆะ และไม่มีสิทธิขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาหรือหากขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาแล้วจะต้องพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของสถาบัน”

วิธีการคัดเลือก

กรณีสอบข้อเขียน

วิธีการคัดเลือก ประกอบด้วยการสอบข้อเขียน เพื่อทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และความรู้ทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน ใช้เวลาในการสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที และพิจารณาคุณสมบัติอื่น ๆ จากหลักฐานประกอบการรับสมัคร

กรณีสอบสัมภาษณ์

การคัดเลือกพิจารณาในสองลักษณะ คือพิจารณาข้อมูลในใบสมัครและการสอบสัมภาษณ์ ดังนี้

การพิจารณาใบสมัคร

คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครจากคุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ ของผู้สมัคร เช่น สาขาวิชาที่ศึกษา ผลการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน หน้าที่และงานในความรับผิดชอบ โอกาสในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น

ดังนั้น  ผู้สมัครควรกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเองให้สมบูรณ์และแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน


การสัมภาษณ์

คณะกรรมการคัดเลือกจะทำการสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจากบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความสามารถ และความพร้อมในการศึกษาของผู้สมัครที่ทราบได้จากการสัมภาษณ์ เช่น ความเชื่อมั่นในตัวเอง การแสดงออกทางท่วงทีวาจา ความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการเป็นนักวิเคราะห์ ความสามารถในการถ่ายทอดความคิดเห็น ความเข้าใจในการอ่านบทความภาษาอังกฤษ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา ความสนใจในเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญ ความตั้งใจและความพร้อมในการเรียน เป็นต้น

หมายเหตุ   การคัดเลือกผู้หนึ่งผู้ใดเข้าศึกษาในหลักสูตรอยู่ในดุลยพินิจของ คณะกรรมการประจำหลักสูตร

และคณะกรรมการรับนักศึกษาของสถาบันฯ  ทั้งนี้   การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการดังกล่าวถือเป็นที่สิ้นสุด

หลักฐานประกอบการสมัคร

กรณีสอบข้อเขียน

1. ใบสมัครที่กรอกข้อความอย่างสมบูรณ์

2. สำเนาปริญญาบัตร จำนวน 1 ชุด

3. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด

4. สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (transcript) จำนวน 1 ชุด

(สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จะต้องส่งสำเนาใบแสดงผลการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าด้วย )

5. รูปถ่ายหน้าตรง ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

6. หนังสือแสดงจุดประสงค์ของการศึกษาในหลักสูตร

(เขียนหรือพิมพ์ด้วยกระดาษขนาด A4 ไม่มีแบบฟอร์ม)

7. หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงาน

8. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล กรณีชื่อ-ชื่อสกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการสมัคร

9. ค่าสมัครสอบ

กรณีสอบสัมภาษณ์

1. ใบสมัครที่กรอกข้อความอย่างสมบูรณ์

2. สำเนาปริญญาบัตร จำนวน 1 ชุด

3. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด

4. สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (transcript) จำนวน 3 ชุด

(สำหรับผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี จะต้องส่งสำเนาใบแสดงผลการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าด้วย )

5. รูปถ่ายหน้าตรง ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

6. หนังสือแสดงจุดประสงค์ของการศึกษาในหลักสูตร

(เขียนหรือพิมพ์ด้วยกระดาษขนาด A4 ไม่มีแบบฟอร์ม)

7. หนังสือรับรองการทำงานและระยะเวลาปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชา ตามที่ระบุไว้ในใบสมัคร

8. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล กรณีชื่อ-ชื่อสกุล ไม่ตรงกับหลักฐานการสมัคร

9. ค่าสมัครสอบ

การขอรับใบสมัคร

ผู้สนใจจะสมัครเข้ารับการคัดเลือก  ขอรับใบสมัครได้ที่

1. กองบริการการศึกษา อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 3 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

2. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ อาคารนวมินทราธิราช ชั้น 14 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

3. สั่งพิมพ์ใบสมัครจาก  Website ของคณะ   www.econ.nida.ac.th

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เลขหมายโทรศัพท์ 0-2727-3176-77, 0-2727-3180

e-Mail : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน line: @mfenida

facebook: https://www.facebook.com/EconNIDAFanpage/

https://www.facebook.com/mfenida/


เพื่อเป็นการยกระดับภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สถาบันจึงกำหนดให้นักศึกษาระดับปริญญาโททุกคน ต้องผ่านเกณฑ์การสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้

1.  นักศึกษาที่ต้องใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษเพื่อประกอบการยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ในการเข้าศึกษาในสถาบัน ต้องมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ NIDA TEAP หรือคะแนนสอบ TOEFL หรือ IELTS  ยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ คะแนนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำให้เป็นไปตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด

2. นักศึกษาที่ไม่ต้องใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษประกอบการยื่นสมัครสอบสัมภาษณ์ในการเข้าศึกษาในสถาบัน นักศึกษาจะต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษ NIDA TEAP หรือผลการสอบ TOEFL หรือผลการสอบ IELTS มาแสดงก่อนการขอสำเร็จการศึกษา

ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษตามประกาศฉบับนี้ กำหนดอายุผลคะแนน ดังนี้

1. ผลการสอบ NIDA TEAP จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันยื่น

2. ผลการสอบ TOEFL และ IELTS จะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันยื่น

หมายเหตุ : คะแนน NIDA TEAP (Test of English for Academic Purposes) หมายถึง คะแนนทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ที่ศูนย์พัฒนาและบริการด้านภาษาและการสื่อสาร    คณะภาษาและการสื่อสารดำเนินการจัดสอบ