ภาพรวมหลักสูตร

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหาร)
Master of Economics Program (Executive Economics)


หลักสูตรเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารเป็นหลักสูตรที่ออกแบบขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับนักบริหารทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการและเจ้าของกิจการที่ต้องการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจทางการบริหาร การพัฒนาหลักสูตรจึงมีลักษณะของการบูรณาการองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร โดยอาศัยหลักมหเศรษฐศาสตร์และจุลเศรษฐศาสตร์เป็นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ที่จำเป็นของนักบริหาร และเพื่อการประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ขององค์การ

ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ทั้งในเชิงมหภาคเพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์และในชิงจุลภาคเพื่อการบริหารองค์การ โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะเข้าใจเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ  สามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและนโยบายของภาครัฐได้ ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

ในด้านการประยุกต์หลักจุลเศรษฐศาสตร์ในการบริหารองค์การ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถนำนำหลักเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการบริหารองค์การในด้านต่าง ๆ เช่น กำหนดกลยุทธ์ขององค์การ บริหารการเงินและความเสี่ยง รวมถึงการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ได้

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ที่เน้นการประยุกต์แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้ในการตัดสินใจและบริหารองค์การ โดยแนวทางการเรียนรู้จะประกอบด้วย การบรรยายทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์โดยอาศัยกรณีศึกษา (Case studies) การจำลองเหตุการณ์ วิเคราะห์ข่าวสารและประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ที่สังคมให้ความสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เรียนและเครือข่ายศิษย์เก่า รวมถึงมีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อเสริมประสบการณ์และขยายวิสัยทัศน์ในการบริหาร

หลักสูตร

เปิดสอนในภาคนอกเวลาราชการ  โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ ๅ ปีครึ่ง

จำนวนรับ
  • จำนวนรับ 40 คน ต่อภาคการศึกษา
ค่าเล่าเรียน
  • ภาคนอกเวลาราชการ หน่วยกิตละ 7,000 บาท
วันเรียน
  • เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.


เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์)
Master of Economics Program (English as a medium of instruction)


Philosophy

Master of Economics Program is designed to equip students with understanding both theoretical knowledge and analytical skills necessary for applying inpublic and private sectors as well as non-profit organizations.The skills will be of great benefit for graduatestudents to understand the economic policy, planning, and management decisions on both theoretical and practical grounds. Our faculty members spend every effort to guarantee an in-depth investigation of state-of-the-art economic research, whileat the same time,providing opportunities for students to make appropriate applications to ongoing development agenda – not only in Thailand and Southeast Asia, but also in Asia and countries around the world in a truly global marketplace.

Graduate program in economics encompasses both theoretical knowledge and practical application. Without the former, practical application becomes weakened and ineffective, and without the latter, theoretical understanding remains isolated and out of touch with the real world. Consequently, we believe that, with the theoretical training and respectful dialogue with our faculty that we provide, our students will develop the skills necessary to make practical and concrete contributions to economic development in Thailand and in the global arena.

“We make contributions to economic development in Thailand and in neighboring Asian Countries”

Qualifications ofthe Applicants

Master of Economics Program aims to provide comprehensive up-to-date knowledge in economics for our students. We encourage the application of individuals from a variety of educational backgrounds.The candidates who would like to work as a lecturer in university, researchers in economics and policy research, and policy makers in the public sector are encouraged to apply to our program.It is part of our philosophy that it is not only an excellent teaching staff that brings about high quality in education, but also a rich student body that contributes to the sharing of information that is so essential to a broad understanding of economic issues.

Yearly Schedule

The academic year for the Master of Economics Program consists of two 16-week semesters. The first semester begins in August, and the second semester begins in January. There is also an eight-week summer session during June and July.  New students are required to attend the pre-semester session before their first semester to provide students with refresher courses in principle of economics, mathematics and econometrictheories. During the regular semesters, lectures are normally conducted on full-time weekdays (Monday to Friday).

Financial Aids

1. Academic  financial assistance: The number of scholarships varies from year to year depending on student performance and resource availability, but normally a full scholarship with tuition waiver and a monthly living allowance (approximately 10,000 Baht per month), and a partial scholarship with half of the tuition waiver. Students that receive a scholarship are required to maintain an academic performance above the designated level.

2.  Graduates  Assistance: These  financial  aids  are  offered  for  students  who  enrolled  at  least  one  semester in  the  program.Working  or  helping the  faculty  members  in  academic  or  administration  for  10  hours/week  are  required  for  those who  receive  this  kindof  financial  aids.

Program Structure

Master  of  Economics  Program offers two plans: Plan A for students with a strong  commitment  on conducting  thesis  to  complete  their  master’s degree  andPlan B for students  whose  their  choices are conducting  independent  studies  to  complete  their  master’s degree. Both plans include refresher courses, basic courses, core courses, field courses, and elective courses and comprehensive examination. The following provides the credits for Master  of  Economicsdegree  program  for both Plan A and Plan B.


ProgramName

  • Master of Economics Program

Degree Name

  • Master of Economics
  • M.Econ.

Program Structure

Course Category

Program Structure Plan A2

(with Thesis)

Program Structure Plan B

1. Remedial Course Category

non credit

non credit

2. Basic Course Category

3credits

3credits

3. Core Course Category

9 credits

9 credits

4. Major Course Category

12credits

12credits

5. Elective Course Category

-

9credits

6. IndependentStudyCourseCategory

-

3 credits

7. Thesis

12 credits

-

8. Comprehensive Examination

-Paper Test

-Paper Test

-Oral Test

Total

36 credits

36 credits

The Program is divided into 2 plans

1. Plan A (with Thesis)

Year 1, Semester 1

ND 4000

Foundation for Graduate Studies

non credit

LC 4001

Reading Skills Development in English for Graduates Studies

non credit

ME 4000

Principles of Economics

non credit

ME 4001

Mathematics and Statistics for Economists

non credit

ME 6001

Microeconomics

3 credits

ME 6002

Macroeconomics

3 credits

Year 1, Semester 2

LC 4002

Integrated English Language Skills Development

non credit

ME 5000

Applied Econometrics

3 credits

ME 6003

Development Economics : Theories and Applications

3 credits

ME 7001

Economics of Public Policy

3 credits

ME 7002

Economics of Strategies and Strategic Planning

3 credits

Year 2, Semester 1

ME 7003

Project Analysis and Evaluation

3 credits

ME 7004

Global Economics and Impact Analysis

3 credits

ME 9004

Thesis

12 credits

Year 2, Semester 2

ME 9004

Thesis

12 credits

2. Plan B (without Thesis)

Year 1, Semester 1

ND 4000

Foundation for Graduate Studies

non credit

LC 4001

Reading Skills Development in English for
Graduate Studies

non credit

ME 4000

Principles of Economics

non credit

ME 4001

Mathematics and Statistics for Economists

non credit

ME 6001

Microeconomics

3 credits

ME 6002

Macroeconomics

3 credits

Year 1, Semester 2

LC 4002

Integrated English Language Skills Development

non credit

ME 5000

Applied Econometrics

3 credits

ME 6003

Development Economics : Theories and Applications

3 credits

ME 7001

Economics of Public Policy

3 credits

ME 7002

Economics of Strategies and Strategic Planning

3 credits

Year 2, Semester 1

ME 7003

Project Analysis and Evaluation

3 credits

ME 7004

Global Economics and Impact Analysis

3 credits

ME 7100

Research Design and Methods

3 credits

Year 2, Semester 2

ME 9000

Independent Studies

3 credits

ME 71XX

Elective Course (First Course)

3 credits

ME 71XX

Elective Course (Second Course)

3 credits

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และวิการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อประยุกต์ในใน องค์กรภาครัฐ องค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรสาธารณประโยชน์

มหาบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ คือ ผู้ที่มึีความรู้และความเข้าใจในการทำงานของระบบเศรษฐกิจ และบทบาทของรัฐบาลที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ มีทักษะทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ วิจัย และมีศักยภาพในการเพิ่มพูนความรู้ไปตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก และมีจริยธรรมในทางวิชาการและการประกอบอาชี

จุดเด่นของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์

เป็นการเรียนทางด้าน เศรษฐศาสตร์สาธารณะ และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา รวมถึงมุ่งเน้นในการฝึกวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความยากจน ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาที่เกิดจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงโครงการพัฒนาต่างๆ รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

หลักสูตร

เปิดสอนเฉพาะในภาคปกติ (เรียนในเวลาราชการ) โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 2 ปี

จำนวนรับ

  • จำนวนรับ 25 คน ต่อภาคการศึกษา

ค่าเล่าเรียน

  • ภาคปกติ หน่วยกิตละ 1,500 บาท

วันเรียน

  • ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ


เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ)
Master of Economics Program (Business Economics)


เปิดสอนเป็นแห่งแรกของประเทศ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยมุ่งเน้นในการนำแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และการบริหารจัดการทั้งในภาคธุรกิจและในภาครัฐได้เป็นอย่างดี

 

จุดเด่นของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

มีสาขาวิชาเอกหลายหลาย ให้เลือกเรียนได้ตามความสนใจของผู้ศึกษา ทั้งในสาขาวิชาวิเคราะห์โครงการ สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการเงิน สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยมุ่งเน้นในการนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ ได้ตรงต่อความต้องการ

หลักสูตร

เปิดสอนทั้งภาคปกติ (เรียนในเวลาราชการ) และภาคพิเศษ (เรียนในวันธรรมดา และวันเสาร์-อาทิตย์) โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาในภาคปกติ สามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 2 ปี และผู้ศึกษาในภาคพิเศษ สามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง

สาขาวิชาเอกภาคปกติ(*)

  1. สาขาวิชาการวิเคราะห์โครงการ
  2. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการเงิน
  3. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจระหว่างประเทศ
  4. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและภาคบริการ
  5. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการแรงงาน

สาขาวิชาเอก ภาคพิเศษ (เรียนในวันธรรมดา)

  1. สาขาวิชาการวิเคราะห์โครงการ
  2. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการเงิน
  3. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและภาคบริการ(**)

าขาวิชาเอก ภาคพิเศษ (เรียนในวันเสาร์ - อาทิตย์)

  1. สาขาวิชาการวิเคราะห์โครงการ
  2. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการเงิน
  3. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจระหว่างประเทศ (**)
หมายเหตุ
  1. (*) ทั้งนี้การเปิดสาขาวิชาเอกภาคปกติ ขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษาที่สนใจในแต่ละปี
  2. (**) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและภาคบริการและสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจระหว่างประเทศ นักศึกษา ภาคพิเศษ สามารถลงทะเบียนเพื่อเรียนข้ามช่วงเวลาได้
จำนวนรับ
  • ภาคปกติ จำนวนรับ 40 คน ต่อภาคการศึกษา
  • ภาคพิเศษ จำนวนรับ 100 คน ต่อภาคการศึกษา

ค่าเล่าเรียน

  • ภาคปกติ หน่วยกิตละ 1,500 บาท
  • ภาคพิเศษ หน่วยกิตละ 4,000 บาท

วันเรียน

  • ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ
  • ภาคพิเศษ กลุ่มวันธรรมดา เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00 น. , กลุ่มวันเสาร์ – อาทิตย์ เรียนเวลา 09.00 – 16.00 น.


เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน)
Master of Economics Program (Financial Economics)

เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งเน้นในการจัดสรรทรัพยากร (เงินทุน) ที่มีอยู่อย่างจำกัด ภายใต้ความเสี่ยง และความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น เศรษฐศาสตร์การเงินจึงเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์กิจกรรมในตลาดการเงิน ซึ่งได้แก่ ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดตราสารอนุพันธ์ ตลอดจนกิจกรรมการจัดหาเงินทุนของกิจการต่างๆ

จุดเด่นของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน

เป็นการผสมผสานของ 3 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีทางการเงิน และเครื่องมือทางเศรษฐมิติ เข้าด้วยกัน เพื่อผลิตบุคลากรทางการเงินที่สามารถเชื่อมโยงเศรษฐกิจ มหภาค ตลาดทุน ตลาดเงิน ทั้งในและระหว่างประเทศ และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางการเงินได้อย่างเหมาะสม

หลักสูตร

เปิดสอนทั้งภาคปกติ (เรียนในเวลาราชการ) และภาคพิเศษ (เรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือในวันธรรมดานอกเวลาราชการเฉพาะบางวิชา) โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ซึ่งผู้ศึกษาในภาคปกติและภาคพิเศษสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง

ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ กับหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน

หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (สาขาวิชาธุรกิจการเงิน) มุ่งเน้นที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางการเงินและช่วยตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน เช่น ทางเลือกของการลงทุนใดเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ ความเสี่ยงทางการเงินเป็นอย่างไรและจะจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างไร ตลอดจนการเลือกแนวทางในการจัดการสินทรัพย์และภาระผูกพันของธุรกิจควรเป็นไปอย่างไร เป็นต้น

ในขณะที่หลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงินมุ่งเน้นในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในตลาดการเงินและราคาสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ราคาของสินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆ (พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ตราสารอนุพันธ์) ถูกกำหนดขึ้นอย่างไร ผู้ลงทุนควรถือสินทรัพย์ทางการเงินประเภทใดบ้างในกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุน ผู้วิเคราะห์ควรใช้เครื่องมือใดจึงจะเหมาะสมในการวิเคราะห์การลงทุน เป็นต้น

หมวดวิชาเอก คือ

  1. เศรษฐกิจและระบบการเงิน
  2. การเงินธุรกิจ
  3. ทฤษฏีการกำหนดราคาสินทรัพย์
  4. ทฤษฏีกลุ่มหลักทรัพย์
  5. การสร้างแบบจำลองทางการเงิน

จำนวนรับ

  • ภาคปกติ จำนวนรับ 30 คน ต่อภาคการศึกษา
  • ภาคพิเศษ จำนวนรับ 100 คน ต่อภาคการศึกษา

ค่าเล่าเรียน

  • ภาคปกติ หน่วยกิตละ 1,500 บาท
  • ภาคพิเศษ หน่วยกิตละ 5,000 บาท

วันเรียน

  • ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ ในเวลาราชการ
  • ภาคพิเศษ เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. และวันธรรมดา


ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์)หลักสูตรนานาชาติ
Doctor of Philosophy Program in Economics (International Program)

เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันได้แบ่งแผนการศึกษาสำหรับนักศึกษาออกเป็น 2 ประเภท

  • แผนการศึกษาที่ 1 (แผน 2 (2.1)) รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
  • แผนการศึกษาที่ 2 (แผน 2 (2.2)) ได้เปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาเอกของคณะได้โดยตรง

จุดเด่นของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์)

เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่จบปริญญาตรีหรือปริญญาโทสามารถศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก โดยมีการเรียน Coursework ที่มีคณาจารณ์ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในวิชานั้นเป็นผู้สอน จึงทำให้นักศึกษามีความรู้ลึกในทางทฤษฎี รวมถึงการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ได้อย่างลึกซึ้ง

หลักสูตร

นักศึกษา แผน 2 (2.1) สามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในเวลาสี่ปี แต่ต้องไม่เกินหกปี โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 66 หน่วยกิต และนักศึกษา แผน 2 (2.2) สามารถสำเร็จการศึกษาภายในเวลาหกปี แต่ต้องไม่เกินแปดปี โดยกำหนดให้ศึกษาไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต นับจากวันเปิดภาคการศึกษา

สาขาวิชาเอก คือ

  1. Development Economics
  2. International Economics
  3. Financial Economics
  4. Labor Economics and Human Capital
  5. Environmental Economics
  6. Public Economics
หมายเหตุ
  • การเปิดสาขาวิชาเอกขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษาที่สนใจในแต่ละปี

ค่าเล่าเรียน

  • หน่วยกิตละ 6,000 บาท

วันเรียน

  • วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00 น. หรือ เสาร์/อาทิตย์ 09.00 – 16.00 น.(การเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นอยู่กับความเหมาะสม)

จำนวนรับ

  • ประมาณ 20 คนต่อปี